อินเดียสมัยโบราณแบ่งเป็น 5 สมัย

  1. สมัยอินโด- อารยันรุกราน  (2,500- 2,000  C.) เป็นสมัยที่มีการรุกรานระยะแรกและเกิดการสู้รบระหว่างชาวดราวิดียนและอารยันมีการขยายตัวไปทางตะวันออก
  2. สมัยพระเวท (2,000 -1,000 C.)สมัยที่อารยันได้รับชัยชนะ มีการตั้งถิ่นฐานและสถาปนาเป็นอาณาจักรเล็กๆ มีราชาเป็นผู้นำทางการปกครอง พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนถอยลงไปอยู่ทางตอนใต้ อารยันรับเอาขนบธรรมเนียมประเพณีของดราวิเดียนมาใช้ ต่อมาพวกอารยันได้กำเนิดระบบวรรณะขึ้น เพื่อแบ่งแยกและรักษาความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ    มีคัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ทางศาสนาและวิถีชีวิต วัฒนธรรมของอารยัน
  3. สมัยมหากาพย์(1,000 – 500 C.) เกิดอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มน้ำคงคามีลักษณะเป็นนครรัฐอิสระ “ ราชา” เป็นผู้ปกครอง แบบราชาธิปไตย (monarchy) มีฐานะเป็นสมมุติเทพ เช่น อาณาจักรมคธ  วัชชั  อวันตี วิเทหะ ฯลฯ มีการแบ่งวรรณะชัดเจน 4 วรรณะ พราหมณ์  กษัตริย์(นักรบ)  แพศย์  ศูทร(ทาส)  มีการติดต่อค้าขายทางเรือ กับอาณาจักรเมโสโปเตเมีย อียิปต์ อาราเบีย    สมัยนี้จะมีวรรณกรรมที่สำคัญ คือ มหากาพย์มหาภารตยุทธ เป็นสงครามกลางเมืองที่ทุ่งกุรุเกษตรระหว่างตระกูล ปาณฑพและเการพต้นตระกูลเป็นเชื้อสาย อินโด-อารยัน  มีการสอดแทรกบทบาทหน้าที่ของคนที่อยู่ในสังคม ดังปรากฎใน “ภควัทตีคา” สอนในคนทำหน้าที่ของตนในสังคมให้ครบถ้วย    และมหากาพย์รามายณะ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งชั้นวรรณะ การขยายอาณาเขตของอารยันไปทางตอนใต้ทำสงคราม ปราบชาวดราวิเดียน
  4. สมัยจักรวรรดิ ( 321 C. – 220 A.D.) ช่วง 6 B.C. มีอาณาจักรทางเหนือที่เข้มแข็ง 2   อาณาจักรคือ มคธ นำโดย (พระเจ้าพิมพิสาร) และแค้วนโกศล ที่ขยายอำนาจปกครองดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย  ต่อมาถูกเปอร์เชียรุกราน ต้นศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย  (กรีก) ยกทัพมารุกรานครองตอนเหนือของอินเดีย   ทำให้อินเดียได้รับอิทธิพลการเขียนอักษรแบบอารบิคจากเปอร์เชีย (ต่อมาพัฒนาเป็นอักษร ขโรษติ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชใช้เขียนจารึก) การทำเหรียญเงิน
  5. สมัยคุปตะ (320-550 A.D.)   ถือว่าเป็นยุคทองของฮินดูทางตอนเหนือ   ต้นคริสต์ ศตวรรษทที่ 4 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ตั้งราชวงศ์คุปตะที่เมืองปัตลีบุตร โอรสของพระองค์ ชื่อ พระเจ้าสมุทรคุปต์ ทรงขยายดินแดนออกไปกว้างไกล ทรงทำเหรียญทองสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ แล้วนำไปไว้ที่เสาหินของพระเจ้าอโศก ราชวงศ์คุปตะรุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 (ค.ศ.376-415) เพราะนอกจากจะชนะพวกสากะแล้ว ทรงรวมดินแดนตะวันออกและทางเหนือไว้ในอำนาจ  ทรงสนับสนุนศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี  กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือ กลิทัษ การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น การค้าเจริญขึ้นมาก มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และประเทศไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เช่น สถูปที่สัญจี อมาราวาตี ฯลฯ วัดพุทธกลายเป็นเจ้าของที่ดินมากมาย ภาษาสันสกฤตกลายเป็นภาษาของผู้รู้หนังสือและเป็นภาษาที่ใช้ในราชการ มีหนังสือกามสูตรเกิดขึ้น เป็นหนังสือที่ชี้ถึงความสำคัญของชีวิตคู่และเพศสัมพันธ์

เกี่ยวข้อง : เครื่องทาบบัตร  เพิ่มความสูง ทัวร์ญี่ปุ่นราคาถูก เหมาแท็กซี่ รถบรรทุก ลงประกาศขายรถฟรี

Back To Top
error: Content is protected !!